Carbon Neutrality ความเป็นกลางทางคาร์บอนคืออะไร?

8 เมษายน 2565

5
(5)

blog-carbon-neutrality


Carbon Neutrality คือการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์

เริ่มจากการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ต้นทาง เช่น ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล แล้วจึงสร้างความสมดุลของปริมาณก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีดูดซับแบบธรรมชาติ (การปลูกป่าเพื่อเพิ่มจำนวนต้นไม้) การใช้เทคโนโลยีเพื่อเประสิทธิภาพและลดการใช้ไฟฟ้าหรือทรัพยากรต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจก หรือการซื้อ Carbon Credit เพื่อทำการชดเชยหากกระบวนการผลิตยังคงมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบัน เราจะพบว่าภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรม มีกลุ่มบริษัทฯ ที่มีความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจกไม่ให้เพิ่มเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ในทุก ๆ ขั้นตอนของการทำอุตสาหกรรม ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตสินค้าไปจนถึงการให้บริการให้ได้ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593) ดังนั้นการซื้อขายคาร์บอนเครดิตจึงเป็นทางออกที่น่าสนใจของภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจในขณะนี้

คาร์บอนเครดิตจะถูกนำมาใช้ในบริบทของสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ โดยเป็นคำที่ใช้สำหรับใบอนุญาตการซื้อขายในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้มีสิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซดังกล่าว หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม มาจากการที่บุคคลหรือองค์กรได้ดำเนินมาตราการที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซ ซึ่งสิทธิดังกล่าวสามารถวัดปริมาณและนำไปซื้อขายในตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้

การซื้อขายคาร์บอนเครดิตจะมีตลาดคาร์บอนอยู่ ซึ่งในประเทศไทยมีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย หรือที่เรียกกันว่า T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) ซึ่งเป็นกลไกที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต (Thailand Carbon Credit Exchange Platform) ซึ่งใช้เทคโนโลยี Blockchain ที่มีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ สะดวกและรวดเร็ว โครงการนี้จะอยู่ภายใต้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.

ดังนั้น Carbon Neutrality หรือความเป็นกลางทางคาร์บอนสำคัญต่อโลกเรามาก เพราะจะช่วยให้โลกของเราน่าอยู่ต่อไปได้อย่างยาวนานและยั่งยืน เราจึงต้องลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ให้ได้ ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนรวมถึงภาคอุตสาหกรรมที่ต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจกไม่ให้เพิ่มเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ เช่น การบริหารจัดการ การผลิตสินค้าที่ปล่อยคาร์บอนออกมาให้น้อยที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

How useful was this post

5 / 5. 5


Tags: Carbon Credit  Carbon Neutrality  Climate Change  Energy Transition  Net-zero Emission  T-VER 
Share: